วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้

             Ning_sced (http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า
1. ผู้สอน เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการที่จะแปลมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เป็นตัวหนังสือให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม น่าสนใจ และมีกระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธีอย่างอิสระ จะต้องรู้จักเลือกปรับปรุงเทคนิคและวิธีการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียนโดยไม่ใช้วิธีการเดียว ควรมีการดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาในแต่ละเรื่อง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
            2. ผู้เรียน เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพ สติปัญญา ความถนัด ความสนใจและความสมบูรณ์ของร่างกาย ผู้เรียนควรมีโอกาสร่วมคิด ร่วมวางแผนในการจัดการเรียนการสอน และมีโอกาสเลือกวิธีเรียนได้อย่างหลากหลาย ตามความเหมาะสมภายใต้การแนะนำของผู้สอน
            3. เนื้อหาวิชาต่างๆ ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กัน มีความน่าสนใจ เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของการจัดการเรียนรู้
            4. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
            5. สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ ผู้สอนต้องมีวิธีการที่จะจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางวิชาการ เช่น จัดห้องชวนคิด ห้องกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จัดระบบนิเวศจำลอง จัดบริเวณโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางชีววิทยา ธรณีวิทยา ฯลฯ มีการดัดแปลงห้องเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ดี และจัดกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย
           
  ศรัญญาภรณ์ โชลิตกุล (http://kmlibrary.bu.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=29:2011-02-24-03-06-59&catid=13:2010-12-22-04-02-34) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า                                                                  

1. คน (man) ในการจัดการความรู้ คนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เนื่องจากคนเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ส่วนบุคคล (personal knowledge management-PKM) คือ ผู้ซึ่งต้องการจัดการความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์กับตัวเอง จึงสามารถจัดการทุกอย่างทุกขึ้นตอนได้เองเป็นส่วนใหญ่ อาจจะมีบ้างที่ต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่น                                                                                            
2. เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology-IT) ในเรื่องของการจัดการความรู้นั้นมีงานวิจัยเป็นจำนวนมากที่พยายามอธิบายความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้ ดังที่ปรากฏว่าเป็นเรื่องราวจำนวนมากที่แสดงถึงการจัดการความรู้ขององค์กรผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่ากระบวนการจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่ไม่ใช้เทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีก็เป็นที่ถูกคาดหมายว่าเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสพความสำเร็จ องค์กรส่วนใหญ่จึงมีการจัดสรรงบประมาณในการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการความรู้ขององค์กร                                                                                      
3. กระบวนการจัดการความรู้ (Process) กระบวนการจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาของความรู้ หรือการจัดการ ความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร

                มหาลัยวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ (acad.vru.ac.th/pdf-handbook/Hand_Teacher.pdf) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า
                 
1.ผู้เรียน  ธรรมชาติของผู้เรียนเป็นสิ่งที่ผู้สอนต้องคำนึงเป็นอันดับแรก เกี่ยวกับความสามรถทางสมอง  ความถนัด  ความสนใจ  พัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจ ความต้องการพื้นฐานเป็นสิ่งที่ผู้สอนจะต้องคำนึกและละเลยไม่ได้                                                                                           
2. บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้  ผู้สอนเป็นส่วนสำคัญหนึ่งที่จะกำหนดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เป็นไปตามรูปแบบที่ต้องการ  ความเป็นประชาธิปไตย  ความเคร่งเครียด  ความชื่นบานของผู้เรียน สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้โดยผู้สอนเป็นผู้กำหนด แต่ถึงกระนั้นก็ตามบรรยากาศในชั้นเรียนยังมีองค์ประกอบอื่นๆอีกนอกเหนือไปจากผู้สอน คือผู้เรียนเข้าชั้นเรียนโดยไม่ได้รับประทานอาหารเช้า หรืออาหารกลางวัน ผู้เรียนเริ่มเรียนชั่วโมงแกด้วยความรู้สึกหิวหรือบางครั้งผู้เรียนได้รับสิ่งกระทบกระเทือนใจติดตามมาเนื่องจากความไม่ปองดองในครอบครัว เป็นต้น ส่วนทางด้านผู้สอนนั้นอาจจะมีความกดดันจากฝ่ายบริหารหรือจากครอบครัว  อาหารเช้าของผู้สอนคือน้ำแก้วเดียวเท่านั้น สิ่งที่นำมาก่อนเหล่านี้เกิดขึ้นที่ผู้สอนและผู้เรียนจะมาพบกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่จะบ่งได้ว่าบรรยากาศทางจิตวิทยาในชั้นเรียนที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ที่จะออกมาในรูปแบใด                            
3.ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบรรยากาศทางจิตวิทยา   ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนจะเป็นเครื่องชี้บ่งถึงเงื่อนไขหรือสถานการณ์ว่าผู้เรียนจะประสบความสำเร็จ หรือความล้มเหลวต่อการเรียนรู้ ผู้สอนควรจะคิดถึงผู้เรียนในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่ง ผู้เรียนมีสิทธิ์ที่จะได้รับความต้องการพื้นฐาน และผู้สอนจะต้องหากลวิธีที่จะตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานของผู้เรียนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และผู้สอนควรจะฝึกให้มีความรู้สึกไวต่อความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียน เพื่อความสำเร็จแห่งการเรียนรู้และการเจริญเติบโตเป็นบุคคลที่สมบูรณ์ต่อไป

สรุป


1. ผู้สอน เป็นส่วนสำคัญหนึ่งที่จะกำหนดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เป็นไปตามรูปแบบที่ต้องการ จะต้องรู้จักเลือกปรับปรุงเทคนิคและวิธีการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับเนื้อหา โดยไม่ใช้วิธีการเดียว เพื่อให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จมากที่สุด 
                                                                                      
2. ผู้เรียน ความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพ สติปัญญา ความถนัด ความสนใจและความสมบูรณ์ของร่างกาย ดังนั้นผู้เรียนจึงมีควรมีโอกาสที่จะร่วมวางแผนในการเรียนรู้ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องพื้นฐาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้สอนจะต้องคำนึกและละเลยไม่ได้
                                      
3. เนื้อหาวิชาต่างๆ  ผู้สอนจะต้องจัดเนื้อหาวิชา ทักษะ รวมไปถึงความรู้ด้านต่างๆเพื่อให้เหมาะสมกับวัยตรงและความต้องการของผู้เรียน                                                                                                                
4. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยในการเรียนการสอน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น                                                                                  

5. สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ ผู้สอนต้องจัดห้องเรียนหรือสถานที่เรียนรู้ให้เหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการเรียนให้มากที่สุด

อ้างอิง

Ning_sced.[online] http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html.องค์ประกอบของการเรียนการสอน.สืบค้นเมื่อ 13/07/58.                                                                                     

ศรัญญาภรณ์ โชลิตกุล.[online] http://kmlibrary.bu.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=29:2011-02-24-03-06-59&catid=13:2010-12-22-04-02-34.องค์ประกอบในการจัดการความรู้.สืบค้นเมื่อ 13/07/58.                                                  

มหาลัยวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์.[online] acad.vru.ac.th/pdf-handbook/Hand_Teacher.pdf.ลักษณะการจัดการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 13/07/58.