วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์ ( Jigsaw )

                http://www.neric-club.com/data.php?page=39&menu_id=76ได้กล่าวถึงกระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์ ( Jigsaw ) ไว้ว่า
                   เทคนิคจิ๊กซอ เป็นเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งในการเรียนแบบร่วมมือ และเหมาะสำหรับการเรียนเนื้อหาใหม่
ขั้นตอนการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                  1. ครูจัดแบ่งเนื้อหาที่จะเรียนเป็นเนื้อหาย่อย ๆ เท่ากับจำนวนสมาชิกในกลุ่มของ
นักเรียนอาจจัดทำเป็นบทเรียนหน้าเดียวก็ได้
                  2. จัดกลุ่มนักเรียน กลุ่มละประมาณ 4 คน โดยให้สมาชิกแต่ละกลุ่มมีความรู้ความสามารถที่คละกันกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มประจำ
                  3. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนให้สมาชิกในกลุ่มรับผิดชอบในการศึกษาหัวข้อย่อยของเนื้อหา คนละ 1 หัวข้อ ให้เวลาในการอ่านตามความยาวของเนื้อหา(แต่ไม่ควรให้เวลามากเกินไป)
                  4. ให้นักเรียนที่อ่านหัวข้อเรื่องเดียวกันมารวมเป็นกลุ่มชั่วคราว หรือกลุ่มผู้ชำนาญเพื่อร่วมกันอภิปราย ซักถาม และทำกิจกรรมร่วมกันให้มีความรู้ความเข้าใจในหัวข้อเรื่องนั้นที่ชัดเจนยิ่งขึ้น (อาจใช้ใบงานเพื่อแนะนำการทำกิจกรรมของกลุ่มนี้ก็ได้
                  5. นักเรียนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ วางแผนมอบหมายภารกิจที่กลุ่มจะต้องทำ เช่น
                           - ใครเป็นประธาน
                           - ใครอ่านคำสั่ง คำชี้แจง คำถาม
                           - ใครจดบันทึกข้อมูล
                           - ใครหาคำตอบ / เหตุผล /คำอธิบาย
                           - ใครสรุป / ตรวจสอบคำถาม
                 6. นักเรียนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแยกตัวกลับไปกลุ่มเดิมของตน(กลุ่มประจำ) แล้วผลัดกันอธิบายความรู้ที่ได้จากการทำกรรมในหัวข้อ 5 ให้เพื่อนฟัง
                  7. นักเรียนทุกคนในกลุ่มทำแบบทดสอบย่อยเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจทุกหัวข้อย่อย แล้วนำคะแนนของสมาชิกกลุ่มแต่ละคนรวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม
                 8. ประกาศยกย่องชมเชยกลุ่มนักเรียนที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อาจปิดประกาศที่บอร์ด หรือบันทึกเป็นสถิติเพื่อมอบรางวัลต่อไป

                 https://www.gotoknow.org/posts/455903 ได้กล่าวถึงกระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์ ( Jigsaw ) ไว้ว่า 
                 กิจกรรมที่ครูผู้สอนมอบหมายให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละกลุ่มศึกษาเนื้อหาที่กำหนดให้ สมาชิกแต่ละคนจะถูกกำหนดโดยกลุ่ม ให้ศึกษาเนื้อหาคนละตอนที่แตกต่างกัน ผู้เรียนจะไปทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ศึกษาเนื้อหาที่เหมือนกัน หลังจากที่ทุกคนศึกษาเนื้อหานั้นจนเข้าใจแล้ว จึงกลับเข้ากลุ่มเดิม แล้วเล่าเรื่องที่ตนศึกษาให้สมาชิกคนอื่น ๆ ในกลุ่มฟัง โดยเรียงตามลำดับเรื่องราว เสร็จแล้วให้สมาชิกในกลุ่มคนใดคนหนึ่งสรุปเนื้อหาของสมาชิกทุกคนเข้าด้วยกัน ครูผู้สอนอาจเตรียมข้อสอบเกี่ยวกับบทเรียนนั้นไว้ ทดสอบความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนในช่วงสุดท้ายของการเรียน
1. จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ ( เก่ง-กลาง-อ่อน ) กลุ่มละ 4 คนและเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้านของเรา (home group)                                                                                                
2. สมาชิกในกลุ่มบ้านของเราได้รับมอบหมายให้ศึกษาเนื้อหาสาระคนละ 1 ส่วน (เปรียบเสมือนได้ชิ้นส่วนของภาพตัดต่อคนละ 1 ชิ้น) และหาคำตอบในประเด็นปัญหาที่ผู้สอนมอบหมายให้                         
3. สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา แยกย้ายไปรวมกับสมาชิกกลุ่มอื่นซึ่งได้รับเนื้อหาเดียวกัน ตั้งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (expert group) ขึ้นมา และร่วมกันทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นอย่างละเอียด และร่วมกันอภิปรายหาคำตอบประเด็นที่ผู้สอนมอบหมายให้                          
4. สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลับไปสู่กลุ่มบ้านของเรา แต่ละกลุ่มช่วยสอนเพื่อนในกลุ่ม ให้เข้าใจสาระที่ตนได้ศึกษาร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเช่นนี้ สมาชิกทุกคนก็จะได้เรียนรู้ภาพรวมของสาระทั้งหมด           
5. ผู้เรียนทุกคนทำแบบทดสอบ แต่ละคนจะได้คะแนนเป็นรายบุคคล และนำคะแนนของทุกคนในกลุ่มบ้านของเรามารวมกัน (หรือหาค่าเฉลี่ย ) เป็นคะแนนกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดได้รับรางวัล

               http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=free4u&month=12-2010&date=21&group=60&gblog=58 ได้กล่าวถึงกระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์          ( Jigsaw ) ไว้ว่า
                1.การเตรียมสื่อการเรียนการสอน (Preparation Of Materials) ครูสร้างใบงานให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนของกลุ่ม และสร้างแบบทดสอบย่อยในแต่ละหน่วยการเรียน แต่ถ้ามีหนังสือเรียนอยู่แล้วยิ่งทำให้ง่ายขึ้นได้ โดยแบ่งเนื้อหาในแต่ละหัวข้อเรื่องที่จะสอนเพื่อทำใบงานสำหรับผู้เชี่ยวชาญ ในใบงานควรบอกว่านักเรียนต้องทำอะไร เช่น ให้อ่านหนังสือหน้าอะไร อ่านหัวข้ออะไร จากหนังสือหน้าไหนถึงหน้าไหน หรือให้ดูวิดีทัศน์ หรือให้ลงมือปฏิบัติการทดลอง พร้อมกับมีคำถามให้ตอบตอนท้ายของกิจกรรมที่ทำด้วย 
               2. การจัดสมาชิกของกลุ่มและของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Teams And Expert Groups) ครูจะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ (Home Groups) แต่ละกลุ่มจะมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่องตามใบงานที่ครูสร้างขึ้น ครูแจกใบงานให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนในกลุ่ม และให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนศึกษาใบงานของตนก่อนที่จะแยกไปตามกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ (Expert Groups) เพื่อทำงานตามใบงานนั้นๆ เมื่อนักเรียนพร้อมที่จะทำกิจกรรม ครูแยกกลุ่มนักเรียนใหม่ตามใบงาน กิจกรรมในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแต่ละกลุ่มอาจแตกต่างกัน ครูพยายามกระตุ้นให้นักเรียนศึกษาหัวข้อตามใบงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นใบงานที่ครูสร้างขึ้นจึงมีความสำคัญมาก เพราะในใบงานจะนำเสนอด้วยกิจกรรมที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในแต่ละกลุ่มอาจจะลงมือปฏิบัติการทดลองศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับมอบหมาย พร้อมกับเตรียมการนำเสนอสิ่งนั้นอย่างสั้นๆ เพื่อว่าเขาจะได้นำกลับไปสอนสมาชิกคนอื่นๆ ในกลุ่มที่ไม่ได้ศึกษาในหัวข้อดังกล่าว
              3. การรายงานและการทดสอบย่อย (Reports And Quizzes) เมื่อกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแต่ละกลุ่มทำงานเสร็จแล้ว ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนก็จะกลับไปยังกลุ่มเดิมของตัวเอง (Home Group) แล้วสอนเรื่องที่ตัวเองทำให้กับสมาชิกคนอื่นๆ ในกลุ่ม ครูกระตุ้นให้นักเรียนใช้วิธีการต่างๆ ในการนำเสนอสิ่งที่จะสอน นักเรียนอาจใช้วิธีการสาธิต อ่านรายงาน ใช้คอมพิวเตอร์ รูปถ่าย ไดอะแกรม แผนภูมิหรือภาพวาดในการนำเสนอความคิดเห็น ครูกระตุ้นให้สมาชิกในกลุ่มได้มีการอภิปรายและซักถามปัญหาต่างๆ โดยที่สมาชิกแต่ละคนต้องมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้แต่ละเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนนำเสนอ

 สรุป
              กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์ ( Jigsaw )   กิจกรรมที่ครูผู้สอนมอบหมายให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละกลุ่มศึกษาเนื้อหาที่กำหนดให้ สมาชิกแต่ละคนจะถูกกำหนดโดยกลุ่ม ให้ศึกษาเนื้อหาคนละตอนที่แตกต่างกัน ผู้เรียนจะไปทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ศึกษาเนื้อหาที่เหมือนกัน หลังจากที่ทุกคนศึกษาเนื้อหานั้นจนเข้าใจแล้ว จึงกลับเข้ากลุ่มเดิม แล้วเล่าเรื่องที่ตนศึกษาให้สมาชิกคนอื่น ๆ ในกลุ่มฟัง โดยเรียงตามลำดับเรื่องราว เสร็จแล้วให้สมาชิกในกลุ่มคนใดคนหนึ่งสรุปเนื้อหาของสมาชิกทุกคนเข้าด้วยกัน ครูผู้สอนอาจเตรียมข้อสอบเกี่ยวกับบทเรียนนั้นไว้ ทดสอบความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนในช่วงสุดท้ายของการเรียน
             ขั้นตอนการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                     1. จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ ( เก่ง-กลาง-อ่อน ) 
                     2. ครูจัดแบ่งเนื้อหาที่จะเรียนเป็นเนื้อหาย่อย ๆ เท่ากับจำนวนสมาชิกในกลุ่มของ
นักเรียนอาจจัดทำเป็นบทเรียนหน้าเดียวก็ได้
                       4. ให้นักเรียนที่อ่านหัวข้อเรื่องเดียวกันมารวมเป็นกลุ่มชั่วคราว หรือกลุ่มผู้ชำนาญเพื่อร่วมกันอภิปราย ซักถาม และทำกิจกรรมร่วมกันให้มีความรู้ความเข้าใจในหัวข้อเรื่องนั้นที่ชัดเจนยิ่งขึ้น (อาจใช้ใบงานเพื่อแนะนำการทำกิจกรรมของกลุ่มนี้ก็ได้
                     3. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนให้สมาชิกในกลุ่มรับผิดชอบในการศึกษาหัวข้อย่อยของเนื้อหา คนละ หัวข้อ ให้เวลาในการอ่านตามความยาวของเนื้อหา(แต่ไม่ควรให้เวลามากเกินไป)   
                  5. นักเรียนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ วางแผนมอบหมายภารกิจที่กลุ่มจะต้องทำ เช่น
                           - ใครเป็นประธาน
                           - ใครอ่านคำสั่ง คำชี้แจง คำถาม
                           - ใครจดบันทึกข้อมูล
                           - ใครหาคำตอบ / เหตุผล /คำอธิบาย
                           - ใครสรุป / ตรวจสอบคำถาม
                 6. นักเรียนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแยกตัวกลับไปกลุ่มเดิมของตน(กลุ่มประจำ) แล้วผลัดกันอธิบายความรู้ที่ได้จากการทำกรรมในหัวข้อ ให้เพื่อนฟัง
                  7. นักเรียนทุกคนในกลุ่มทำแบบทดสอบย่อยเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจทุกหัวข้อย่อย แล้วนำคะแนนของสมาชิกกลุ่มแต่ละคนรวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม
                 8. ประกาศยกย่องชมเชยกลุ่มนักเรียนที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด อาจปิดประกาศที่บอร์ด หรือบันทึกเป็นสถิติเพื่อมอบรางวัลต่อไป
            กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์ ( Jigsaw ) เป็นเทคนิคการสอนรูปแบบหนึ่งของการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิคการสอนนี้เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนที่ช่วยผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จไปพร้อมๆกัน การเรียนการสอนตามเทคนิคนี้จะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม และให้นักเรียนแต่ละคนของกลุ่มศึกษาเนื้อหาสาระของแต่ละส่วน เพื่อให้นำเนื้อหาสาระที่ศึกษามาประกอบกันเป็นความรู้เรื่องหนึ่งๆได้ ซึ่งเปรียบเสมือนการต่อจิกซอว์

อ้างอิง                                                                                                                                                      
http://www.neric-club.com/data.php?page=39&menu_id=76.กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์สืบค้นเมื่อ 11/ส.ค./58.
                
 https://www.gotoknow.org/posts/455903.กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์.สืบค้นเมื่อเมื่อ 11/ส.ค./58.
              
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=free4u&month=12-2010&date=21&group=60&gblog=58.กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์.สืบค้นเมื่อเมื่อ 11/ส.ค./58.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น